วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่12 เวนน์ไดอะแกรม (Venn Diagram)

เวนน์ไดอะแกรม Venn Diagram ใช้สำหรับการแสดงความสัมพันธ์ทางลอจิก ซึ่งเกิดจากการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของเซทมาประยุกต์แทน Switch Function หรือ Logic Function ได้ด้วยแผนผัง ซึ่งจะช่วยในการพิสูจน์หรือลดรูปฟังก์ชันเบื้องต้นได้โดยมีตัวแปรไม่เกิน 3 ตัวแปร
Venn Diagram จะประกอบด้วย รูปสี่เหลี่ยมแสดงเป็นขอบเขตและภายในกรอบสี่เหลี่ยมจะเขียนวงกลมต่าง ๆ วงกลมแต่ละวงจะแทนตัวแปรต่าง ๆ ที่อยู่ในฟังก์ชัน
1 ตัวแปร 2 ตัวแปร 3 ตัวแปร
การแทน Logic Function ด้วย Venn Diagram ทำได้โดยใช้ การมีส่วนของพื้นที่หรือไม่มีพื้นที่ ในส่วนต่าง ๆ ของ Venn Diagram เป็นตัวบ่งบอกความหมายของส่วนต่าง ๆ ในรูปแผนผัง ซึ่งมีการกระทำกันดังต่อไปนี้

ก) มีพื้นที่แลเงาทั้งสี่เหลี่ยม ใช้แทนลอจิก “1”

ข) การไม่มีพื้นที่แลเงาทั้งสี่เหลี่ยม ใช้แทนลอจิก “0”

2. เกี่ยวกับตัวแปรใด ๆ A และการกระทำของ “NOT” บนตัวแปร

ก) มีพื้นที่แลเงาอยู่ในวงกลม A ใช้แทนตัวแปร “A”
ข) มีพื้นที่แลเงาอยู่นอกวงกลม A ซึ่งแสดงว่าไม่ใช้ A ใช้แทนด้วย “A”

3. เกี่ยวกับการกระทำ “AND” และการกระทำ “OR” ของตัวแปรใด ๆ A และ B
ก) เมื่อ A “AND” B ผลที่ได้ในรูปของ Venn Diagram คือ มีพื้นที่แลเงาที่อยู่ในส่วนของวงกลม A และ วงกลม B เฉพาะส่วนที่ซ้อนกันเท่านั้น

ข) เมื่อ A “OR” B ผลที่ได้ในรูปของ Venn Diagram คือ มีพื้นที่แลเงาที่อยู่ในส่วนของวงกลม A และ วงกลม B ทั้งหมด

ตัวอย่างของ F = A×B

เราสามารถสรุปการกระทำที่เกิดจากการแลเงาเฉพาะส่วนต่าง ๆ ของการกระทำของตัวแปร 2 และ 3 ตัวแปรได้ดังรูป
โดย 0 คือ A × B โดย 0 คือ A × B ×C
1 คือ A × B 1 คือ A × B ×C
2 คือ A × B 2 คือ A × B ×C
3 คือ A × B 3 คือ A × B ×C
4 คือ A × B ×C
5 คือ A × B ×C
6 คือ A × B ×C
7 คือ A × B ×C


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น